วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552

ดอกไม้ในวรรณคดี


สายหยุด
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Desmos chinensis
วงศ์ : ANNONACEAF
ชื่อไทยพื้นเมือง : สายหยุด
วรรณคดีไทยที่กล่าวถึง : อิเหนา, รามเกียรติ, นิราศนรินทร์, นิราศธารโศก, เงาะป่า, ลิลิตตะเลงพ่าย กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ากุ้ง
สายหยุดเป็นไม้เลื้อยกิ่งไม้ยื่นต้น มีเถาหรือต้นใหญ่แข็งแรง สามารถเลื้อยพันเกาะต้นไม้หรือสิ่งอื่นไปได้ไกลตั้งแต่ 5 – 8 เมตร มักแตกกิ่งก้านสาขามากในบริเวณส่วนยอด และแผ่สาขาออกไปเป็นบริเวณกว้าง ใบสีเขียวเข็ม รูปรีขอบขนาดปลายใบแหลม ออกใบสลับกันตรงข้ามตามข้อต้นขนาดใบยาวประมาณ 12 – 14 เซนติเมตร
ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว ตามข้อต้นโคนก้านใบ และตามตาติดกับกิ่งหรือลำต้น ดอกมีลักษณะคล้ายดอกกระดังงาไทย กลีบเล็กยาวดอกละ 5 กลีบ แต่ละกลีบจะบิดงออย่างดอกกระดังงาไทย เมื่ออ่อนเป็นดอกสีเขียว และเมื่อแก่จัดหรือบานเต็มที่ดอกจะมีสีเหลือง จะออกดอกเป็นระยะตลอดปี ดอกไม้ชนิดนี้ส่งกลิ่นหอมจัดในตอนเช้าตรู่ พอสายกลิ่นจะค่อยลดกลิ่นหอมลงและหมดกลิ่นเมื่อใกล้เที่ยงวัน
พันธุ์ไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์ ด้วยวิธีเพาะเมล็ดหรือตอน แต่ก็เป็นไม้ที่ตอนออกรากยาก และตายง่ายกว่าต้นที่ปลูกจากเมล็ด เป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้งการปลูกบนที่ซึ่งน้ำท่วมไม่ถึง ในสภาพดินอันชุ่มชื้น เมื่อปลูกได้โตพอควรแล้ว ก็ไม่ต้องเดือดร้อนเรื่องปุ๋ยเท่าใดนัก แต่เมื่อต้นยังเล็ก ๆ อยู่ควรให้ปุ๋ยไนโตรเจน และปุ๋ยหมักไว้บ้าง เป็นพันธุ์ไม้ที่เติบโตช้า ปลูกโดยการเพาะเมล็ดและบำรุงเต็มที่ประมาณ 3 – 4 ปี จึงจะมีดอก สายหยุดเป็นพันธุ์ไม้ของไทยแท้ชนิดหนึ่ง และมีกล่าวถึงอยู่ในวรรณคดีไทยมากที่สุด แต่ชื่อพฤกษศาสตร์ของสายหยุดฟังดูเหมือนไม้เมืองจีนได้อย่างไรก็ไม่ทราบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น